เรื่องของ “คำ”ในวิชาภาษาไทย
ภาษาไทยมีคำอยู่มากมายหลายชนิดที่จะต้องทำความเข้าใจ คำเหล่านี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน อาทิ
คำมูล คำประสม คำสมาส
คำสนธิ คำซ้ำ คำซ้อน
คำมูล คำประสม ฯลฯ
ซึ่งผู้เรียนจะต้องพบชื่อเหล่านี้เสมอ เรียกว่าตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย
หากรู้และเข้าใจก็น่าจะทำให้ภาษาไทยเป็นเรื่องง่ายขึ้น
ความหมายของ “คำ”
พระยาอุปกิตศิลปสารกล่าวไว้ในตำราหลักภาษาไทย
(๒๕๔๔ , หน้า ๕๙ )ว่า
คำ คือเสียงที่พูดออกมาได้ความอย่างหนึ่งตามความต้องการของผู้พูด จะเป็นกี่พยางค์ก็ตามเรียกว่า “ คำหนึ่ง “
กำชัย ทองหล่อ (หลักภาษาไทย : ๒๕๔๓, หน้า ๒๑๐ ) อธิบายว่า “คำ” คืออักษรที่ประสมกันแล้วออกเสียงมาเป็นหน่วยเสียงเดียว ประกอบด้วยสระตัวเดียว เรียกว่า “พยางค์” ถ้ามีความหมายเรียกว่าคำหรือถ้อยคำ เมื่อเปล่งเสียงพูดเรียกว่า “คำพูด” เขียนเป็นตัวหนังสือเรียก “ คำเขียน”
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า คำ คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายตามความต้องการของผู้พูดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกัน จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เรียกว่า คำหนึ่งเช่น มะละกอ มี ๓ พยางค์ เป็น ๑ คำ ผักกาด มี ๒ พยางค์ เป็น ๑ คำ ฯลฯ
คำเหล่านี้แหล่ะที่นำมาตั้งชื่อต่าง ๆ เช่น คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน ฯลฯซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เรียนต้องจำแนกเองว่าคำที่เห็นเป็นคำชนิดใด
คำ คือเสียงที่พูดออกมาได้ความอย่างหนึ่งตามความต้องการของผู้พูด จะเป็นกี่พยางค์ก็ตามเรียกว่า “ คำหนึ่ง “
กำชัย ทองหล่อ (หลักภาษาไทย : ๒๕๔๓, หน้า ๒๑๐ ) อธิบายว่า “คำ” คืออักษรที่ประสมกันแล้วออกเสียงมาเป็นหน่วยเสียงเดียว ประกอบด้วยสระตัวเดียว เรียกว่า “พยางค์” ถ้ามีความหมายเรียกว่าคำหรือถ้อยคำ เมื่อเปล่งเสียงพูดเรียกว่า “คำพูด” เขียนเป็นตัวหนังสือเรียก “ คำเขียน”
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า คำ คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายตามความต้องการของผู้พูดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกัน จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เรียกว่า คำหนึ่งเช่น มะละกอ มี ๓ พยางค์ เป็น ๑ คำ ผักกาด มี ๒ พยางค์ เป็น ๑ คำ ฯลฯ
คำเหล่านี้แหล่ะที่นำมาตั้งชื่อต่าง ๆ เช่น คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน ฯลฯซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เรียนต้องจำแนกเองว่าคำที่เห็นเป็นคำชนิดใด
๑.“ คำมูล”
คือคำที่ใช้ในภาษามาแต่เดิม
อาจเป็นคำไทยแท้
หรือคำยืมมาจากภาษาอื่นหรือเป็นคำที่ตั้งใหม่ในภาษาก็ได้ คำมูลแบ่งเป็น
๒ พวก
- คำมูลพยางค์เดียว คือ คำพยางค์เดียวโดด ๆซึ่งได้ความหมายในตัวเอง เช่น หมู หมา กา ไก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ หม้อ กะทะ ครก เดิน นอน นั่ง ฉัน เตียง ตั่ง ตู้ ฯลฯ
- คำมูลพยางค์เดียว คือ คำพยางค์เดียวโดด ๆซึ่งได้ความหมายในตัวเอง เช่น หมู หมา กา ไก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ หม้อ กะทะ ครก เดิน นอน นั่ง ฉัน เตียง ตั่ง ตู้ ฯลฯ
-คำมูลหลายพยางค์ คือคำที่มีหลายพยางค์ เริ่มตั้งแต่สองพยางค์ สามพยางค์
หากแยกพยางค์ออกจากกัน แต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย ถ้ามีก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวมพยางค์กันอยู่
เช่น พายุ ภูเขา
อากาศ จมูก กระเพาะ
ชะนี ชะมด เสวย
บรรทม ไวโอลิน แซกโซโฟน
เมตตา กรุณา อุเบกขา บารมี
วิทยุ นาฬิกา ฯลฯ
๒. คำไทยแท้ คือคำดั้งเดิมที่ไทยใช้ เป็นคำที่ติดมากับกลุ่มชนแต่ดั้งเดิม ลักษณะสังเกต
มักเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้ามีหลายพยางค์อาจเกิดจากการกร่อนเสียง
ลักษณะการกร่อนเสียงจะเกิดเมื่อคำพยางค์เดียวสองคำมาเรียงกัน เมื่อพูดหรือออกเสียงคำนั้นเร็ว ๆ เสียงพยางค์หน้าจะกร่อนไป เช่น หมากขาม กร่อนเป็น มะขาม ตัวขาบ กร่อนเป็น ตะขาบ ต้นขบ กร่อนเป็น ตะขบ ตาวัน กร่อนเป็น ตะวัน สาวใภ้ กร่อนเป็น สะใภ้
นอกจากกร่อนเสียงอาจมีการแทรกเสียง อะ ตรงกลางคำ เช่น ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม ลูกท้อน เป็น ลูกกะท้อน นกจอก เป็น นกกะจอก
คำพยางค์เดียวบางคำมีการเพิ่มพยางค์หน้าเข้าไป คำที่มีการเพิ่มพยางค์จะมีความหมายใกล้เคียงความหมายเดิม เช่น โจน เพิ่มเป็น กระโจน ทำ เพิ่มเป็น กระทำ เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว จุ๋มจิ๋ม เพิ่มเป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม จุกจิก เพิ่มเป็น กระจุกกระจิก
มักเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้ามีหลายพยางค์อาจเกิดจากการกร่อนเสียง
ลักษณะการกร่อนเสียงจะเกิดเมื่อคำพยางค์เดียวสองคำมาเรียงกัน เมื่อพูดหรือออกเสียงคำนั้นเร็ว ๆ เสียงพยางค์หน้าจะกร่อนไป เช่น หมากขาม กร่อนเป็น มะขาม ตัวขาบ กร่อนเป็น ตะขาบ ต้นขบ กร่อนเป็น ตะขบ ตาวัน กร่อนเป็น ตะวัน สาวใภ้ กร่อนเป็น สะใภ้
นอกจากกร่อนเสียงอาจมีการแทรกเสียง อะ ตรงกลางคำ เช่น ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม ลูกท้อน เป็น ลูกกะท้อน นกจอก เป็น นกกะจอก
คำพยางค์เดียวบางคำมีการเพิ่มพยางค์หน้าเข้าไป คำที่มีการเพิ่มพยางค์จะมีความหมายใกล้เคียงความหมายเดิม เช่น โจน เพิ่มเป็น กระโจน ทำ เพิ่มเป็น กระทำ เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว จุ๋มจิ๋ม เพิ่มเป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม จุกจิก เพิ่มเป็น กระจุกกระจิก
คำไทยแท้อาจสังเกตจากตัวสะกด กล่าวคือ มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น
ดิน มีตัวสะกดในมาตราแม่ กน เมือง
มีตัวสะกดในมาตราแม่ กง
คำไทยแท้ทุกคำต้องมีวรรณยุกต์เพื่อแสดงความหมายของคำ เช่น
แก แก่ แก้
ไข ไข่ ไข้ คา ค่า ค้า ฯลฯ
ไข ไข่ ไข้ คา ค่า ค้า ฯลฯ
คำไทยแท้ใช้
สระไอ ไม้ม้วน มี
๒๐ คำ ได้แก่
ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบดูน้ำใสแลปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยงยี่สิบคำจำจงดี
ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบดูน้ำใสแลปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยงยี่สิบคำจำจงดี
ข้อสังเกตคำสระใอไม้ม้วนจะใช้ได้เฉพาะยี่สิบคำในบทกลอนนี้ คำบางคำเสียงเดียวกันแต่อาจใช้สระไอ ไม้มลาย
ก็ได้เช่น น้ำแข็งไส ไส
คำนี้เป็นคำกริยาของน้ำแข็ง มีความหมายว่า ทำให้น้ำแข็งเละเอียดเป็นฝอย ใสในคำว่า น้ำใสเป็นคำวิเศษณ์ขยายคำว่าน้ำ คำว่าลำไย
ก็ไม่ใช้สระใอไม้ม้วนเหมือน ใยบัว
นอกจากคำไทยแท้แล้ว ภาษาไทยยังมีคำที่มาจากภาษาอื่น ๆ
อีกมากมายปะปนอยู่บางครั้งเราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำใดเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่น
คำเหล่านี้เมื่ออยู่ในวิชาหลักภาษาไทย
จะเรียกว่า ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย หรือ
คำยืม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น